วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

สำนวนสุภาษิตไทย


ความหมายของสำนวนและสุภาษิต


สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใข้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ

สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนอง สำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอนและสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ คนไทยเรามักหยิบยกคำสุภาษิตมาเป็นตัวอย่างในการอบรมสั่งสอนลูกหลานหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า หรือบางครั้งใช้แสดงเปรียบเทียบประกอบการสนทนา


ความแตกต่างของสุภาษิตและสำนวน

 สุภาษิตจะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความเป็นจริง เป็นที่ยอมรับกันโดย ทั่วๆไป สุภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน


                           

จับปูใส่กระด้ง 

สุภาษิตนี้ หมายถึง พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีระเบียบ ซุกชน ทำให้อยู่นิ่งๆได้ยาก 
ยกตัวอย่าง
1.งานประกวดการแสดงของเด็กอนุบาลนี่ทำเอาเหนื่อยไปตามๆกัน กว่าเป็นแบบนี้ได้ก็เหมือนตามจับปูใส่กระด้ง เด็กๆ วิ่งกันให้วุ่นไปหมด
2.กว่าจะหลอกล่อให้เด็กๆ อยู่นิ่งๆเพื่อถ่ายรูปได้ เหมือนจับปูใส่กระด้งจริงๆ



มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า 

สุภาษิตนี้ หมายถึง คนที่ไม่ช่วยหลืองานส่วนรวม ไม่ให้ความร่วม

มือ แล้วยังทำตัวเกะกะ ขัดขวางการทำงานของผู้อื่น จนทำให้การทำงานนั้นยากขึ้นไปอีก
ตัวอย่างเช่น

 1. ถ้าคุณไม่เห็นด้วย ไม่คิดจะช่วยงานนี้ ก็อยู่เฉยๆเสียดีกว่า อย่าทำเป็นพวกมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หาเรื่องทำให้งานมันยากขึ้นไปอีกเลย




รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

สำนวนนี้ หมายถึง การกระทำใดๆของตนที่ได้ผลออกมาไม่ดี แต่กลับโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่น แทนที่จะโทษตัวเอง โบราณท่านจึงเปรียบไว้เหมือนกับการร่ายรำที่ออกมาไม่ดี แทนที่จะโทษตัวเอง แต่กลับไปโทษปี่กลองผู้ให้จังหวะ
ตัวอย่างเช่น
1. เธอแข่งเต้นแพ้เพราะเธอไม่ขยันฝึกซ้อมเองแท้ๆ แต่กลับไปโทษว่าร้องเท้าไม่ดี แบบนี้เขาเรียกว่ารำไม่ดีโทษปี่โทษกลองนะจ๊ะ
2.คุณทำงานพลาดแต่ไปโทษผู้ร่วมงานคนอื่นว่าเตรียมงานไม่ดี อย่ารำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง คุณสมควรจะพิจารณาตัวเองด้วยนะ



น้ำลดต่อผุด 

สุภาษิตนี้ หมายถึง คนที่กำลังมีอำนาจวาสนา แม้จะทำความผิดความชั่วอย่างไรก็ไม่มีใครกล้าเปิดเผย แต่พอหมดอำนาจวาสนาความชั่วที่เคยทำไว้ก็ถูกเปิดเผยออกมา

ยกตัวอย่างเช่น

     1.นักการเมืองหลายๆคน พอหมดวาระหมดอำนาจ ฝ่ายตรงข้ามก็จะเปิดโปงเรื่องโกงกิน เรื่องคอรัปชั่นที่เคยทำมา น้ำลดตอผุดจริงๆ
   2.  น้ำลดตอผุดอีกแล้ว หัวหน้าคนเก่าเมื่อพ้นจากตำแหน่ง ความผิดหลายๆอย่างที่เคยปิดไว้ ก็ถูกเปิดเผยออกมา ทำให้หมดความนับถือเลยจริงๆ


วัวหายล้อมคอก

สุภาษิตหรือสำนวนไทยนี้ หมายถึง การคิดหาทางแก้ไขหรือป้องกันภายหลังจากได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น

1.ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งติดตั้งกล้องวงจรปิดภายหลังจากเกิดการ

ขโมยสินค้าในร้านเป็นจำนวนมาก หรือ ครอบครัวหนึ่งต้องปิดเครื่อง

ใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องเมื่อพบว่าค่าไฟฟ้าเดือนที่ผ่านมาสูงจนน่าตกใจ

2.หมู่บ้านแห่งหนึ่งได้ทำคันดินขนาดใหญ่และสูงล้อมรอบหมู่บ้าน เนื่องจากเมื่อปีก่อนได้รับความเสียหายทั้งหมู่บ้านอันเนื่องมาจากน้ำท่วมครั้งใหญ่



อ้างอิง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น